โดยคุณปานใจ ยกกลิ่น
นิติกรประจำศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งนครนายก
เครดิตภาพประกอบจาก travel.kapook.com
ข้อห้ามในการเล่นสงกรานต์…ต้องรู้ก่อนโดนปรับ
เทศกาลสงกรานต์ถือเป็นประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาแต่โบราณ เป็นประเพณีที่งดงาม อ่อนโยน เอื้ออาทร และเต็มไปด้วยบรรยากาศของความกตัญญู ความสนุกสนาน ความอบอุ่น และการให้เกียรติเคารพซึ่งกันและกัน สะท้อนให้เห็น ถึงลักษณะของความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน โดยใช้น้ำเป็นสื่อในการเชื่อมสัมพันธไมตรีต่อกัน
คราวนี้มาดูกฎหมายวันสงกรานต์
มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557
มาตรา 44 ระบุว่า “ข้าราชการทหาร ” ตั้งแต่ยศร้อยตรี, เรือตรี, หรือ เรืออากาศตรี เป็นเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย และยศต่ำกว่านี้เป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย โดยกฎหมายระบุให้เจ้าหน้าที่ทหารเป็นพนักงานฝ่ายปกครองได้ในคราวเดียวกัน มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกันกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
มาตรา 44 แก้ปัญหาจราจรและมาตรการความปลอดภัยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ วางแนวทางแก้กฎหมายปรับใช้ถาวรหวังลดอุบัติเหตุทางถนน โดยเพิ่มโทษจับปรับดัดแปลงสภาพรถ จำกัดความเร็ว และติดกล้องหน้ารถ
กฎหมายเฉพาะกิจ ที่คนไทยต้องรู้
1.ห้ามซื้อ และขายสินค้าบนไหล่ทาง หากผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ
2. ห้ามเปิดเครื่องเสียง หากผู้ใดฝ่าฝืน มีโทษทั้งจำทั้งปรับ
3.ห้ามให้รถกระบะบรรทุกถังน้ำสาดตามท้องถนน หากฝ่าฝืน มีความผิดฐานสร้างความเดือดร้อน แต่หากมีการฝ่าฝืนข้อห้าม และส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุผู้ฝ่าฝืนมีความผิด
4.ห้ามนั่งหรือยืนบนหลังกระบะเพื่อเล่นน้ำสงกรานต์
5. ห้ามเล่นปืนฉีดน้ำแรงดันสูง หากผู้ใดฝ่าฝืน มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
6.ห้ามนำน้ำแข็งปาใส่กัน หากผู้ใดฝ่าฝืน ถูกจับทันที
7.ห้ามทำลามกอนาจารหญิงสาว หากผู้ใดฝ่าฝืน ถูกจับทันที โดยมีความผิดฐานกระทำอนาจาร ต่อเด็กหญิง หรือสตรี
8. ห้ามขายเครื่องแอลกฮอล์ในพื้นที่เล่นน้ำสาธารณะ หากเป็นการขายให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี หรือขายให้ผู้อื่นที่เมาอยู่แล้ว มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี
9.ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์บนรถ โดยในกรณีนี้ทั้งผู้ขับขี่ และผู้โดยสาร ที่ดื่มแอลกฮอล์ จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
10. ห้ามเล่นแป้ง หากพบ จะมีการตักเตือน แต่สำหรับผู้จำหน่ายแป้ง มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
11.ห้ามเมาแล้วขับรถ หากผู้ใดฝ่าฝืน มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าหกเดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
ข้อห้ามในการเล่นสงกรานต์
นั่งหลังรถกระบะ บนถนนสายหลัก
ขับรถเร็ว เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ขับหรือโดยสารรถยนต์ โดยไม่คาดเข็มนิรภัย
เมาแล้วขับ
อายุต่ำกว่า 20 ปี ห้ามดื่มสุรา เกิน 20 มิลลิกรัม
จัดกิจกรรม รื่นเริงเกินเหตุ
ข้อห้าม ภายใต้มาตราการ 5 ป.
ปลอดปืนฉีดน้ำขนาดใหญ่
ปลอดแอลกฮอล์
ปลอดโป๊ – เปลือย
ปลอดแป้ง
ประหยัดน้ำ
สิ่งที่ทำได้
เล่นน้ำท้ายกระบะ ในเขตชุมชน สถานที่ทางจังหวัดได้จัดเตรียมไว้
จัดกิจกรรมรื่นเริง อย่างเหมาะสม
เล่นสงกรานต์ ตามประเพณีท้องถิ่น
เราคนไทยควรใช้ประเพณีสงกรานต์นี้ เป็นโอกาสในการสร้างความรัก ความกตัญญู ความเอื้ออาทร ความเคารพซึ่งกันและกัน เพื่อสานความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน โดยไม่ละเลยคุณค่า สาระที่เป็นแก่นแท้ของประเพณีสงกรานต์ที่งดงามมาและทรงคุณค่ามาแต่อดีต แล้วพบกันใหม่เดือนหน้า สวัสดีคะ.