มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นครนายก การศึกษาปฐมวัย ปริญญาตรี สมัครเลย!

เล่นแชร์อย่างไร ? ไม่ให้ผิดกฎหมาย

หากจะพูดถึงการเล่นแชร์ คงเป็นที่รู้จักกันดี เนื่องจากเป็นที่นิยมเล่นกันในกลุ่มบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดกัน และรู้จักกัน อาศัยความไว้วางใจซึ่งกันและกัน เพื่อให้ได้เงินจำนวนหนึ่งไปใช้จ่ายหรือใช้ในการลงทุนธุรกิจขนาดเล็ก โดยมีผลตอบแทนที่สูงกว่าผลตอบแทนในระบบสถาบันการเงิน  ปัจจุบันคนส่วนมากเข้าใจว่าการเล่นแชร์นั้นเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แต่ความจริงแล้วการเล่นแชร์ของประชาชนทั่วไปที่มิได้ดำเนินการเป็นธุรกิจ นั้น ไม่ถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมาย ดังนั้น ประชาชนยังสามารถเล่นแชร์กันได้อย่างอิสระ แต่ต้องกระทำภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด โดยมีกฎหมายที่ควบคุม กำกับ ดูแลการเล่นแชร์

พระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ.2534  มาตรา 4 ในพระราชบัญญัติ ได้บัญญัติคำนิยามของการเล่นแชร์ไว้ว่า หมายถึง การที่บุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปตกลงกันเป็นสมาชิกวงแชร์ โดยแต่ละคนมีภาระที่จะส่งเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดรวมเข้าเป็นทุนกองกลางเป็น งวดๆ เพื่อให้สมาชิกวงแชร์หมุนเวียนกันรับทุนกองกลางแต่ละงวดนั้นไปโดยการประมูล หรือโดยวิธีอื่นใด และให้หมายความรวมถึงการรวมทุนในลักษณะอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

       เล่นแชร์อย่างไร ? ไม่ให้ผิดกฎหมาย การเล่นแชร์อันจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 ได้นั้น จะต้องเป็นการเล่นแชร์ที่ขัดต่อข้อจำกัดตามกฎหมายดังต่อไปนี้

แต่ในส่วนของประชาชนยังสามารถเล่นแชร์กันได้อย่างอิสระ เพราะเจตนารมณ์นี้ ใช้บังคับกับผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ (ท้าวแชร์) ในส่วนของผู้เล่นแชร์ (ลูกวงแชร์) ถ้ามีการผิดสัญญา การเล่นแชร์ผู้เล่นแชร์สามารถฟ้องร้องทางแพ่งได้ การเล่นแชร์ (ตามมาตรา 4)       

       การเล่นแชร์ (มาตรา 4)
1. บุคคลตั้งแต่ 3 คนตกลงเป็นสมาชิกวงแชร์
2. ส่งเงิน หรือทรัพย์สินอื่นใด รวมเข้าเป็นทุนกองกลางเป็นงวดๆ
3. เพื่อให้สมาชิกวงแชร์หมุนเวียนการรับทุนกองกลางโดยการประมูลหรือโดยวิธีอื่นใด

       ข้อห้าม
กรณีบุคคลธรรมดา (มาตรา 6)
        1. เป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์มีจำนวนวงแชร์รวมกันมากกว่า 3 วง
2. มีจำนวนสมาชิกวงแชร์รวมกันมากกว่า 30 คน
3. มีทุนกองกลางต่อหนึ่งงวดรวมกันทุกวงมากกว่า 300,000 บาท

กรณีนิติบุคคล (มาตรา 5) ห้ามมิให้นิติบุคคลเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์
       กรณีอื่นๆ
1. ห้ามโฆษณาชี้ชวนประชาชนให้มีการเล่นแชร์ (มาตรา 9)
2. ห้ามใช้ชื่อธุรกิจหรือคำแสดงชื่อในธุรกิจที่มีคำว่า แชร์ หรือคำอื่นใดที่มีความหมายใกล้เคียงกัน (มาตรา 10)

       บทลงโทษ

  • บุคคลใดฝ่าฝืนมาตรา 6 จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    – นิติบุคคลใดฝ่าฝืนมาตรา 5 ปรับตั้งแต่หนึ่งเท่าถึงสามเท่าของทุนกองกลาง แต่ไม่ต่ำกว่า 200,000 บาท
    – ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 9 ปรับไม่เกิน 50,000 บาท
    – ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 10 ปรับไม่เกิน 20,000 บาท และ ปรับอีกไม่เกินวันละ 500 บาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่

ถ้าลูกแชร์คนใดคนหนึ่งหรือหลายคนหนีวงแชร์ วงแชร์นั้นจะต้องดำเนินการต่อไป ซึ่งท้าวแชร์จะต้องรับผิดชอบโดยการสำรองจ่ายแทนไปก่อน แล้วท้าวแชร์ก็ไปใช้สิทธิฟ้องร้องบังคับคดีกันในทางอาญาฐานยักยอกทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 หรือฟ้องร้องฐานผิดสัญญาในทางแพ่ง แล้วแต่กรณี เพื่อใช้สิทธิไล่เบี้ยเอากับลูกแชร์ที่หนีวงแชร์ ซึ่งการฟ้องคดีดังกล่าวสามารถนำพยานบุคคลมาสืบได้ ไม่จำต้องมีเอกสารหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ

ดังนั้น แม้ประชาชนจะสามารถเล่นแชร์กันได้อย่างอิสระ แต่กฎหมายก็กำหนดให้กระทำได้ในขอบเขตที่จำกัดเท่านั้น จึงเป็นเรื่องที่เราควรศึกษาทำความเข้าใจ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายหรือถูกหลอกลวงแล้วพบกันใหม่ฉบับหน้า

Loading

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *