มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นครนายก การศึกษาปฐมวัย ปริญญาตรี สมัครเลย!

กฎหมายน่ารู้

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นครนายก เข้าร่วมประชุมใน “โครงการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สภาคณาจารย์และพนักงานมหาวิทยาลัยสวนดุสิต สัญจร ร่วมกับ วิทยาเขตและศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง” โดยสภาคณาจารย์และพนักงานมหาวิทยาลัยสวนดุสิต

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งนครนายก นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยยศ ชาวระนอง ผู้อำนวยการศูนย์ฯ คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยและโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ  อาจารย์และบุคลากร เข้าร่วมประชุมใน “โครงการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สภาคณาจารย์และพนักงานมหาวิทยาลัยสวนดุสิต สัญจร ร่วมกับ วิทยาเขตและศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง” ซึ่งจัดตั้งโดยสภาคณาจารย์และพนักงานมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มอบความรู้เกี่ยวสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ สำหรับพนักงานมหาวิทยาลัยและสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ “ทิศทางของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต : จิ๋วแต่แจ๋ว พ.ศ. 2563 -2567” และยังเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะจากบุคลากรทุกภาคส่วนอีกด้วย ทั้งนี้จัดขึ้นในวันที่ 17 มีนาคม 2564 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 12.30 น. ผ่านระบบประชุมทางไกล (Video Conference) ณ ห้องประชุมขจร มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นครนายก      

Loading

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นครนายก เข้าร่วมประชุมใน “โครงการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สภาคณาจารย์และพนักงานมหาวิทยาลัยสวนดุสิต สัญจร ร่วมกับ วิทยาเขตและศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง” โดยสภาคณาจารย์และพนักงานมหาวิทยาลัยสวนดุสิต Read More »

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง นครนายก เข้าร่วมรับฟังการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการปลูกฝังจิตสำนึก ความซื่อสัตย์สุจริตและการป้องกันการทุจริต

วันที่ 14 กันยายน 2561 เวลา 09.00 – 11.00 น. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง นครนายก โดยนักศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 3 เข้าร่วมรับฟังการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับการปลูกฝังจิตสำนึกความซื่อสัตย์สุจริตและการป้องกันการทุจริต การพร้อมที่จะเสียสละผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม พัฒนาเยาวชนไทยให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคตและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นต้นแบบในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านความซื่อสัตย์สุจริตและการป้องกันการทุจริต จากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำ จังหวัดนครนายก ณ ห้อง 525 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งนครนายก  

Loading

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง นครนายก เข้าร่วมรับฟังการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการปลูกฝังจิตสำนึก ความซื่อสัตย์สุจริตและการป้องกันการทุจริต Read More »

ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งนครนายก เข้าร่วมโครงการ “สานพลังสร้างมาตรการองค์กรเพื่อความปลอดภัยทางถนน จังหวัดนครนายก”

วันอังคารที่ 19 กันยายน 2560 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งนครนายก ร่วมกับ สำนักงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุการจราจร (สอจร.) ตำรวจภูธร จังหวัดนครนายก สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดนครนายก สาธารณสุข จังหวัดนครนายก บริษัทกลางประกันภัย แรงงานจังหวัดนครนายก สำนักงานขนส่งจังหวัดนครนายก และภาคีเครือข่าย ฯ ได้จัดโครงการ “สานพลังสร้างมาตรการองค์กรเพื่อความปลอดภัยทางถนน จังหวัดนครนายก” โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยยศ ชาวระนอง ผู้อำนวยการ ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งนครนายกให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด และรับมอบบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งนครนายกกับภาคีเครือข่ายในการร่วมกันรณรงค์เพื่อลดอุบัติเหตทางถนน เวลา 13.30 – 16.00 น. ณ ห้อง 546 ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง นครนายก     [ngg_images source=”galleries” container_ids=”188″ override_thumbnail_settings=”0″ thumbnail_width=”120″ thumbnail_height=”90″ thumbnail_crop=”1″ images_per_page=”60″ number_of_columns=”4″ ajax_pagination=”0″

Loading

ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งนครนายก เข้าร่วมโครงการ “สานพลังสร้างมาตรการองค์กรเพื่อความปลอดภัยทางถนน จังหวัดนครนายก” Read More »

มสด.นครนายกเข้ารับฟังการประชุมชี้แจงกฎหมายที่ผู้ปฏิบัติงานควรทราบ และจัดทำสัญญาจ้าง

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 มิถุนายน 2560 กองกองบริหารงานบุคคล และกองกฏหมายได้เชิญบุคลากรประจำศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งนครนายก ร่วมรับฟังประชุมชี้แจงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพนักงานมหาวิทยาลัย และกฎหมายที่เกี่ยวกับลูกจ้างของมหาวิทยาลัย ในการจัดทำสัญญาจ้างพนักงานมหาวิทยาลัย และลูกจ้างของมหาวิทยาลัยที่อยู่ระหว่างการดำเนินการทำสัญญาจ้าง เพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ว่าด้วย การบริหารงานบุคคล พ.ศ.2558 ณ ห้องประชุม อาคารประถมศึกษา ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งนครนายก โดยได้รับเกียรติจาก คุณสุวิมล แมตสอง ผู้อำนวยการกองบริหารงานบุคคลให้เกียรติเป็นประธาน ในการนี้ ผศ.ดร.ชัยยศ ชาวระนอง ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งนครนายก ให้การต้อนรับ

Loading

มสด.นครนายกเข้ารับฟังการประชุมชี้แจงกฎหมายที่ผู้ปฏิบัติงานควรทราบ และจัดทำสัญญาจ้าง Read More »

กฎหมายน่ารู้ ประจำเดือนเมษายน

โดยคุณปานใจ ยกกลิ่น นิติกรประจำศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งนครนายก เครดิตภาพประกอบจาก travel.kapook.com ข้อห้ามในการเล่นสงกรานต์…ต้องรู้ก่อนโดนปรับ เทศกาลสงกรานต์ถือเป็นประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาแต่โบราณ เป็นประเพณีที่งดงาม อ่อนโยน เอื้ออาทร และเต็มไปด้วยบรรยากาศของความกตัญญู ความสนุกสนาน ความอบอุ่น และการให้เกียรติเคารพซึ่งกันและกัน สะท้อนให้เห็น ถึงลักษณะของความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน โดยใช้น้ำเป็นสื่อในการเชื่อมสัมพันธไมตรีต่อกัน คราวนี้มาดูกฎหมายวันสงกรานต์ มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 มาตรา 44 ระบุว่า “ข้าราชการทหาร ” ตั้งแต่ยศร้อยตรี, เรือตรี, หรือ เรืออากาศตรี เป็นเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย และยศต่ำกว่านี้เป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย โดยกฎหมายระบุให้เจ้าหน้าที่ทหารเป็นพนักงานฝ่ายปกครองได้ในคราวเดียวกัน มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกันกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ มาตรา 44 แก้ปัญหาจราจรและมาตรการความปลอดภัยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ วางแนวทางแก้กฎหมายปรับใช้ถาวรหวังลดอุบัติเหตุทางถนน โดยเพิ่มโทษจับปรับดัดแปลงสภาพรถ จำกัดความเร็ว และติดกล้องหน้ารถ กฎหมายเฉพาะกิจ ที่คนไทยต้องรู้ 1.ห้ามซื้อ และขายสินค้าบนไหล่ทาง หากผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ 2. ห้ามเปิดเครื่องเสียง หากผู้ใดฝ่าฝืน มีโทษทั้งจำทั้งปรับ 3.ห้ามให้รถกระบะบรรทุกถังน้ำสาดตามท้องถนน หากฝ่าฝืน

Loading

กฎหมายน่ารู้ ประจำเดือนเมษายน Read More »

บทความกฎหมายน่ารู้ เดือนมีนาคม 2560

บทความกฎหมายเรื่องภาษี  โดยคุณปานใจ ยกกลิ่น  นิติกรประจำศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งนครนายก   ภาพประกอบจาก www..mdsoft.co.th

Loading

บทความกฎหมายน่ารู้ เดือนมีนาคม 2560 Read More »

กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับวัยรุ่น

กฏหมายน่ารู้ กพ.60 กฏหมายน่ารู้ประจำเดือนกุมภาพันธ์ โดย คุณปานใจ ยกกลิ่น นิติกรประจำศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งนครนายก

Loading

กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับวัยรุ่น Read More »

เจ้าหนี้ –ลูกหนี้ ทวงหนี้อย่างไร ไม่ผิดกฎหมาย

เจ้าหนี้ –ลูกหนี้ ทวงหนี้อย่างไร ไม่ผิดกฎหมาย (ภาพประกอบจาก http://www.consumerthai.org)           กลับมาพบกันอีกครั้งในสัปดาห์ที่สองของเดือน มกราคม ปี 2017 ปีไก่ปีระกา มาทำความรู้จักกับพรบ.พระราชบัญญัติการทวงหนี้ พ.ศ. 2558 เรื่อง ของการทวงหนี้นั้นไม่มีกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ใดๆเอาไว้เป็นเหตุให้เวลาเจ้าหนี้ทวงหนี้ก็มักจะใช้วิธี เพียงขอให้ลูกหนี้เอาเงินมาชำระหนี้ให้เท่านั้นก็พอ           ชื่อของกฎหมายทวงหนี้มีชื่อว่า พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 ซึ่งกฎหมายได้กำหนดรายละเอียด วิธีการข้อห้ามในการทวงหนี้  ซึ่งรายละเอียดประชาชนคนส่วนใหญ่ที่ควรรู้มีอะไรบ้าง           พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 มาตรา 3 กำหนดว่า…ผู้ทวงถามหนี้” ได้แก่ เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ให้สินเชื่อ ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเป็นปกติธุระตามกฎหมายว่าด้วยการพนันและเจ้าหนี้อื่น ซึ่งมีสิทธิรับชําระหนี้อันเกิดจากการกระทําที่เป็นทางการค้าปกติหรือเป็นปกติธุระของเจ้าหนี้            “ลูกหนี้” หมายความว่า ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ำประกัน ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาด้วย             ผู้ที่จะถูกทวงหนี้คือ “ลูกหนี้ ” แต่ตามกฎหมายนี้ไม่ได้หมายความถึงเฉพาะลูกหนี้อย่างเดียวเท่านั้น ยังรวมไปถึง “ผู้ค้ำประกัน” ด้วย ฉะนั้นหากเจ้าหนี้จะทวงหนี้ผู้ค้ำประกัน เจ้าหนี้ต้องปฏิบัติต่อผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ด้วย พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.

Loading

เจ้าหนี้ –ลูกหนี้ ทวงหนี้อย่างไร ไม่ผิดกฎหมาย Read More »

มาทำความรู้จัก เช่าทรัพย์

          การเช่าทรัพย์ คือสัญญาที่มีบุคคลอยู่สองฝ่าย ฝ่ายแรกคือผู้ให้เช่า ฝ่ายที่สองคือผู้เช่า ทั้งสองฝ่ายต่างก็มีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่กันและกัน โดยฝ่ายผู้ให้เช่ามีหนี้ที่จะต้องให้ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์ที่เช่า ส่วนฝ่ายผู้เช่าก็มีหนี้ที่จะต้องชำระค่าเช่าเป็นการตอบแทน ในเบื้องต้นก่อนอื่นต้องเข้าใจเสียก่อนว่า สัญญาเช่าทรัพย์ มิได้หมายความเฉพาะสัญญาเช่าทรัพย์สำหรับวัตถุที่มีรูปร่าง เช่น หนังสือ หรือ รถยนต์ เท่านั้น แต่ให้หมายความรวมถึงทรัพย์ที่ไม่เป็นวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้ด้วย เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิในเครื่องหมายการค้า ด้วยเหตุนี้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537  บัญญัติว่าอันว่า เช่าทรัพย์สิน นั้นคือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ให้เช่าตกลงให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้เช่า ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่ง ชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น จากบทบัญญัติของกฎหมายที่ได้กล่าวมาข้างต้น ก็พอจะแยกอธิบายความหมายของสัญญเช่าทรัพย์ได้ ดังนี้ สัญญาเช่าทรัพย์เป็นสัญญาสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเรียกว่า “ผู้ให้เช่า” และอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า “ผู้เช่า” ผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่า การได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่ามีระยะเวลาอันจำกัด ซึ่งระยะเวลาแห่งการเช่าอาจจะกำหนดเป็นวัน เดือน หรือปี ก็ได้ และกำหนดระยะเวลาเช่าจะต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย           4.สัญญาเช่าถือคุณสมบัติของผู้เช่าเป็นสำคัญ           5.สัญญาเช่าทรัพย์สินเป็นสัญญาที่ก่อให้เกิดบุคคลสิทธิเท่านั้น

Loading

มาทำความรู้จัก เช่าทรัพย์ Read More »

ลาออกอย่างไรให้ชอบด้วยกฎหมายแรงงาน

          สวัสดีคะ มาพบกันเป็นประจำทุกเดือนกับคอลัมน์ที่จะนำสาระความรู้ดีๆมาฝากกันปลายปีแบบนี้ ก่อนอื่นขออนุญาตให้ความรู้นะคะ การลาออก เป็นพฤติกรรมหนึ่งของการบอกเลิกสัญญาจ้าง หมายความว่า การบอกเลิกสัญญาจ้างทำได้ทั้งสองฝ่าย ถ้านายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างเราเรียกกันว่า “การเลิกจ้าง” ลูกจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างเราเรียกว่า” การลาออก” ดังนั้น เมื่อทั้งสองพฤติการณ์เป็นการบอกเลิกสัญญาจ้างไม่ว่าการเลิกจ้างหรือการลาออก มีกฎหมายที่เข้ามาคุ้มครองแรงงาน มาตรา 17  ย่อๆว่า การบอกเลิกสัญญาจ้างให้อีกฝ่ายหนึ่งบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 งวด การจ่ายค่าจ้าง แต่ไม่ต้องบอกกล่าวกันล่วงหน้าเกิน 3 เดือน ต้องมาวิเคราะห์กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยเรื่อง ของการลาออกกันเสียก่อน พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 17  บัญญัติว่า “ สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า เมื่อพิจารณากฎหมายข้างต้นเห็นได้ว่า สัญญาจ้างแรงงานตามมาตรานี้จะมี สองแบบคือ  สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา สัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน  ตัวบทกฎหมายอ้างอิง พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  พ.ศ. 2541 มาตรา 17 สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า           ในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ แต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกินสามเดือน ทั้งนี้ ให้ถือว่าสัญญาจ้างทดลองงานเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาด้วย           การบอกเลิกสัญญาจ้างตามวรรคสอง

Loading

ลาออกอย่างไรให้ชอบด้วยกฎหมายแรงงาน Read More »