มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นครนายก การศึกษาปฐมวัย ปริญญาตรี สมัครเลย!

มาตรฐานฝีมือแรงงาน

วันพุธที่ 31 สิงหาคม 2559 ณ ห้องพิมพ์จันทร์ โรงแรมจันทรา รีสอร์ท จ.นครนายก ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าไปร่วมสัมมนาโครงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจการอนุญาตให้ดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545  โดยรายละเอียดของงานก็เป็นไปตามกำหนดการทั่วๆไป ผู้เขียนจะไม่กล่าวถึงแต่ความสนใจที่เรียกว่า “ซ็อดเด็ต” ที่ผู้เขียนเห็นว่าเป็นประโยชน์  จึงขออนุญาตนำมาถ่ายทอด บอกเล่า ให้ท่านผู้เข้ามาเยี่ยมเยือนบทความได้อ่าน ก็ตอนผู้บริหาร คุณวสันต์ชาย เคหะวันยะ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 14 จังหวัดปทุมธานี ซึ่งมีหลายประเด็น อาทิเช่น

1.สถานประกอบการ

2.ฝ่ายนายจ้าง

  1. หรือฝ่ายปฎิบัตินั้น นอกจากจะเป็นการโดนบังคับโดยผ่านพระราชบัญญัติแล้ว สถานประกอบการต่างๆต้องปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ต่างๆที่ทางกระทรวงแรงงานได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด แบบฟอร์มต่างๆที่มีมากกว่า 20 แบบฟอร์ม ที่เกี่ยวข้องกับ พรบ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 นี้ นอกจากนี้รายละเอียดต่างๆในแบบฟอร์ม ยังคงต้องกรอกให้ครบสมบูรณ์ทั้งหมด เช่น เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน คำนำหน้าชื่อ รายละเอียดข้อมูลต่างๆ ฯลฯ นั่นก็หมายความว่าหากองค์กรใดที่ยังไม่มีระบบในการจัดเก็บข้อมูลในเรื่องที่เกี่ยวข้องนี้แล้ว ย่อมหมายถึงภาระหน้าที่ของฝ่ายนายจ้าง รวบรวมข้อมูลต่างๆ ส่งให้กับทางกระทรวงแรงงาน

จึงทำให้ผู้เขียนด้รับความรู้มากขึ้น แต่เอ๊ะมันเกี่ยวกับปฐมวัยตรงไหนน๊า-*-* มาเฉลยแล้วกันจะเห็นได้ว่าการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย และการดูแลผู้สูงอายุ นั้นจัดอยู่ในบัญชีอัตราค่าทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ (5 )กลุ่มสาขาอาชีพภาคบริการ ซึ่งในพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 มาตรา 24 ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานให้ขออนุญาตต่อนายทะเบียน และมาตรา 26 ผู้ใดประสงค์จะให้คณะกรรมการรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานของตนให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียน

          กฎหมายฝีมือแรงงานใหม่ “จ้างต้องมีใบรับรอง”

          พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานฯ ฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีทิศทางผลักดันฝ่ายนายจ้างให้พัฒนาลูกจ้างของตนเอง และหน่วยงานภาครัฐก็ให้บริการด้านพัฒนาฝีมือแรงงานทั้งประเทศ แต่ปรากฏว่าตัวลูกจ้างกลับไม่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาตัวเอง ทำแต่งาน เอาแต่หาเงิน ไม่ยอมหันมาพัฒนาตัวเอง จึงทำให้วัตถุประสงค์ในการพัฒนาฝีมือแรงงานไม่ประสบผลอย่างเต็มที่ จะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีเพียง 7 สาขาอาชีพที่หน่วยงานออกใบรับรองให้ ขณะที่สาขาอาชีพอื่นๆ ยังไม่มีการออกใบรับรองเลย กระทรวงแรงงานจึงประกาศว่า สาขาอาชีพ ตำแหน่งงาน หรือลักษณะงานใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสาธารณะ ผู้ประกอบกิจการ ผู้ประกอบอาชีพ ต้องให้ใช้ผู้มีความรู้ความสามารถเฉพาะ ต้องดำเนินการโดยผู้ได้รับหนังสือรับรองความรู้ความสามารถ (License) ซึ่งก็จะสามารถควบคุมอาชีพที่อันตรายเหล่านั้นได้

สาระสำคัญของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ได้แก่การรับรองความรู้ความสามารถ ให้แก่ผู้ประกอบอาชีพในสาขาอาชีพ ตำแหน่งงาน หรือลักษณะงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสาธารณะ ซึ่งจะต้องผ่านการประเมินเพื่อรับรองความรู้ความสามารถโดยวัดจากค่าทักษะ ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ หรือความสำเร็จในการประกอบอาชีพ และคุณลักษณะส่วนบุคคล นั่นคือต้องไปยื่นคำขอต่อกรมพัฒนาฝีมือแรงงานหรือศูนย์ประเมินความรู้ความ สามารถ เพื่อทำการทดสอบ และเมื่อผ่านการประเมินก็จะได้หนังสือรับรองความรู้ความสามารถ เป็นการการันตี สามารถประกอบอาชีพที่เป็นอันตรายต่อสาธารณะได้อย่างปลอดภัย และถูกต้องตามขั้นตอน สร้างความมั่นใจต่อผู้ประกอบกิจการหรือนายจ้าง ที่ว่าหากต้องการจ้างแรงงานในสาขาอาชีพที่อาจต้องเป็นอันตรายต่อสาธารณะก็ ต้องจ้างแรงงานที่ได้รับหนังสือรับรองความรู้ความสามารถตาม พ.ร.บ.ใหม่นี้

พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545

           “มาตรฐานฝีมือแรงงาน” หมายความว่า ข้อกำหนดทางวิชาการที่ใช้เป็นเกณฑ์วัดระดับฝีมือความรู้ความสามารถ และทัศนคติในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพในสาขาต่างๆ

“ผู้ดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน” หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน

 หมวด 2 มาตรฐานฝีมือแรงงาน

มาตรา 24 ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานให้ขออนุญาตต่อ

นายทะเบียน

มาตรา 26 ผู้ใดประสงค์จะให้คณะกรรมการรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานของตนให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียน

กระทรวงแรงงานประกาศตามกฎหมายใหม่ ว่ามีด้วยกัน 3  อาชีพ ที่จำเป็นต้องมีบัตรประจำตัว หลังยกเป็นอาชีพที่อาจก่อให้เกิดอันตรายในที่สาธารณะ

  1. ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร
  2. ช่างไฟฟ้าภายนอกอาคาร

3.ช่างไฟฟ้าอุตสาหกรรม ที่สำคัญ หากนายจ้างและลูกจ้างเพิกเฉยในการจ้างแรงงานที่มีไม่มีคุณสมบัติตามกฎหมาย นี้จะมีโทษดังนี้

นายจ้างหรือสถานประกอบการที่จ้างแรงงานโดยไม่มีหนังสือรับรองของลูกจ้างจะมีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท ทั้งนี้หากช่างไฟฟ้าฝ่าฝืนไม่มีบัตรประจำตัว จะมีความผิด ปรับไม่เกิน 5,000 บาท นายจ้างที่จ้างแรงงานที่ไม่มีบัตรประจำตัวช่างไฟฟ้า มีความผิดปรับไม่เกิน 30,000 บาท ซึ่งกฏหมายฉบับนี้จะ ควบคุมผู้ประกอบอาชีพช่างไฟฟ้าทุกคน แล้วเจอกันใหม่ฉบับหน้า.

 

Loading