มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นครนายก การศึกษาปฐมวัย ปริญญาตรี สมัครเลย!

ฆ่าคนโดยไตร่ตรองไว้ก่อน

ฆ่าคนโดยไตร่ตรองไว้ก่อน

ขอตามกระแสนิดนึง คงไม่ช้าเกินไปนะค่ะสำหรับ “วัยรุ่นโจ๋รุมฆ่าคนพิการนั้น” จะเห็นได้ว่า หลายคนยังแยกไม่ออกว่า “เจตนา” กับ “ไตร่ตรอง” มันคนละความหมายกัน แต่โทษของทั้งสองข้อหาก็มีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิตเท่ากัน ประเด็นนี้จึงอยากอธิบายให้ผู้ที่สนใจและติดตามข่าวสารได้ทราบถึงคำนิยาม ที่ได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา ดังนี้  

       “ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนานั้น” นั้น กฎหมายจะบัญญัติโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต แต่กฎหมายยังเปิดโอกาสให้ศาลสามารถใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษกับผู้กระทำความผิดได้ หากเห็นว่ากระทำผิดจริง โดยกฎหมายกำหนดดุลยพินิจให้กับศาล และบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288  ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุก ตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี

        “ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน” นั้นกฎหมายไม่เปิดช่องให้ศาลใช้ดุลยพินิจในการกำหนดโทษได้ ดังนั้น ถ้าฟังว่าวัยรุ่นที่ร่วมกันทำให้คนพิการนั้นถึงแก่ความตาย โดยได้มีการไตร่ตรองในการที่จะลงมือกระทำความผิดไว้ก่อน กฎหมายในมาตรา 289 (4) บัญญัติโทษไว้เพียงสถานเดียว คือโทษ “ประหารชีวิต”

       ประเด็นแรก การฆ่าคนตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน หมายถึง ผู้ลงมือกระทำความผิดได้คิดไตร่ตรองไว้ล่วงหน้าแล้วว่าจะฆ่าใคร ได้ทบทวนแล้วจึงตัดสินใจ ตกลงใจที่จะฆ่าผู้อื่น

ประเด็นที่สอง การฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้กระทำความผิด โดยพิจารณาตามสภาพจิตใจของผู้กระทำความผิดแต่ละคน ถ้าคดีใดมีผู้กระทำความผิดร่วมกันหลายคนหรือมากกว่า 1 คน ที่กฎหมายเรียกว่าตัวการร่วม  ผู้กระทำความผิดบางคนที่ร่วมฆ่าผู้อื่นอาจมีความผิดเพียงเจตนาฆ่าผู้อื่นเท่านั้น

       พฤติการณ์ อย่างไรถึงจะเรียกว่าเป็นการฆ่าคนตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน  ถ้ามีการกระทำดังต่อไปนี้ถือว่าเป็นการฆ่าคนตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน

  1. การจ้างวานฆ่าผู้อื่น
  2. การคบคิดกันวางแผนฆ่าผู้อื่น
  3. การตระเตรียมอาวุธที่ใช้ในการฆ่า
  4. การจัดเตรียมยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทางเพื่อไปฆ่าผู้อื่น

ถ้าเข้าข่ายก็เป็นไปตาม 289 (4)

เหตุฉกรรจ์ตาม มาตรา ๒๘๙ โดยมาก คือ เหตุที่ถือว่า ผู้กระทำนั้น มีสันดานชั่ว และ โหดเหี้ยมอำมหิต จนเกินรับได้ มาดูกันมีอะไรบ้าง
(1) ฆ่าบุพการี    (อกตัญญู เนรคุณ)
(2) ฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุ ที่จะกระทำ หรือได้กระทำการตามหน้าที่  (ท้าทายกฎหมาย)
(3) ฆ่าผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการที่เจ้าพนักงานนั้นกระทำ ตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่บุคคลนั้นจะช่วยหรือได้ช่วยเจ้าพนักงาน ดังกล่าวแล้ว   (ท้าทายกฎหมาย)
       (4) ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน    (ไม่คิดระงับ ยับยั้งชั่งใจ แม้จะได้มีโอกาสทบทวน) “ไตร่ตรอง” ตาม (4) มันไม่ได้เกี่ยวกับระยะเวลา หรือ การวางแผนตระเตรียมการ  มัน คือ มีโอกาสคิดทบทวนแต่ไม่คิดจะระงับยับยั้ง เท่านั้นเอง
        (5) ฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย   (จิตใจอำมหิต)
(6) ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการ ที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น หรือ  (มีสันดานชั่ว ไม่เกรงกลัวการทำผิดกฎหมาย)
(7) ฆ่าผู้อื่นเพื่อจะเอาหรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่ ตนได้กระทำความผิดอื่น เพื่อปกปิดความผิดอื่นของตนหรือเพื่อ หลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดที่ตนได้กระทำไว้   (มีสันดารชั่ว ฆ่าคนเพื่อเอาตัวรอดจากการทำผิดของตน)
จะเห็นได้ว่า เหตุฉกรรจ์นั้น เป็นเรื่องกฎหมายยอมรับไม่ได้
อย่าง ไรก็ตาม มิได้มุ่งโจมตีความเห็นในทางคดีของพนักงานสอบสวนแต่อย่างใด แต่มุ่งที่จะสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนทั่วไปที่ไม่รู้กฎหมาย เพื่อให้ทราบว่าการตั้งข้อหานั้นแท้ที่จริงเท่านั้นเอง แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้า

Loading

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *