มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นครนายก การศึกษาปฐมวัย ปริญญาตรี สมัครเลย!

ลาออกอย่างไรให้ชอบด้วยกฎหมายแรงงาน

          สวัสดีคะ มาพบกันเป็นประจำทุกเดือนกับคอลัมน์ที่จะนำสาระความรู้ดีๆมาฝากกันปลายปีแบบนี้ ก่อนอื่นขออนุญาตให้ความรู้นะคะ การลาออก เป็นพฤติกรรมหนึ่งของการบอกเลิกสัญญาจ้าง หมายความว่า การบอกเลิกสัญญาจ้างทำได้ทั้งสองฝ่าย ถ้านายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างเราเรียกกันว่า “การเลิกจ้าง” ลูกจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างเราเรียกว่า” การลาออก” ดังนั้น เมื่อทั้งสองพฤติการณ์เป็นการบอกเลิกสัญญาจ้างไม่ว่าการเลิกจ้างหรือการลาออก มีกฎหมายที่เข้ามาคุ้มครองแรงงาน มาตรา 17  ย่อๆว่า การบอกเลิกสัญญาจ้างให้อีกฝ่ายหนึ่งบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 งวด การจ่ายค่าจ้าง แต่ไม่ต้องบอกกล่าวกันล่วงหน้าเกิน 3 เดือน ต้องมาวิเคราะห์กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยเรื่อง ของการลาออกกันเสียก่อน พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 17  บัญญัติว่า “ สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า เมื่อพิจารณากฎหมายข้างต้นเห็นได้ว่า สัญญาจ้างแรงงานตามมาตรานี้จะมี สองแบบคือ

  1.  สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา
  2. สัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน 

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  พ.ศ. 2541
มาตรา 17
สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

          ในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ แต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกินสามเดือน ทั้งนี้ ให้ถือว่าสัญญาจ้างทดลองงานเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาด้วย

          การบอกเลิกสัญญาจ้างตามวรรคสอง นายจ้างอาจจ่ายค่าจ้างให้ตามจำนวนที่จะต้องจ่ายจนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกำหนดที่บอกกล่าวและให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีได้    

          มาตรา 118  ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้

                   (1) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่ไม่ครบหนึ่งปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

                    (2) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี แต่ไม่ครบสามปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย นั่นหมายความว่า สัญญาจ้างได้กำหนดระยะเวลาการจ้างไว้ การบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดไม่สามารถทำได้ หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาจ้าง ก็อาจต้องมีการฟ้องเรียกค่าเสียหายกันขึ้นได้

                    (3) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปี แต่ไม่ครบหกปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

                    (4) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหกปี แต่ไม่ครบสิบปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสองร้อยสี่สิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสองร้อยสี่สิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

                    (5) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

          การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป

          ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น

          การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนหรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปีโดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง

          มาตรา 119   นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
          (4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่ง ของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด

           ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าใน (4) ระบุชัดเจนว่า นายจ้างจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้นั้น ต้องมีการตักเตือนเป็นหนังสือเตือนก่อน อยู่ดีๆจะมาเลิกจ้างโดยทันที ย่อมกระทำมิได้ ถือว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมายคุ้มครองแรงงาน แต่สำหรับวันนี้ขอลาไปก่อนนะค่ะ *-* แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้า สวัสดีค่ะ

 

 

Loading

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *